เกิดจากความสนใจของผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมืองลุ่มน้ำแม่ต๋ำตอนบนที่อยากจะทำงานเป็นลักษณะเครือข่ายเพื่อไปขับเคลื่อนประเด็นของผู้หญิงที่ยังประสบกับสถานการณ์ปัญหาในด้านๆ ต่างในพื้นที่ เช่น การเข้าไม่ถึงการศึกษาในระดับที่สูง ข้อจำกัดด้านการเดินทางและภาษาไทยในการสื่อสาร ขาดความมั่นใจไม่กล้าแสดงออก มีการอพยพไปทำงานต่างถิ่นและต่างประเทศทำให้เกิดการหย่าร้างในชุมชนสูง และพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยาน เขตอนุรักษ์และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ส่งผลให้ถูกจำกัดการเข้าถึงทรัพยากรและที่ดิน ถูกจับกุมและดำเนินคดี และถูกทวงคืนที่ดิน รวมทั้งการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่ผ่านมานั้นยังไม่เห็นการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในระดับการตัดสินใจ แม้ในชุมชนผู้หญิงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เช่น บทบาทในการจัดการทรัพยากร การหาและผลิตอาหาร สร้างความมั่นคงทางอาหาร และมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม แต่พบได้ว่าการเคลื่อนไหวเหล่านี้มักไม่ถูกรวมตัวกันเป็นเครือข่ายสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้หญิงเท่าที่ควร พวกเขาจึงรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายอย่างไม่เป็นทางขึ้นในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ชื่อ“เครือข่ายสตรีชนเผ่าพื้นเมืองลุ่มน้ำแม่ต๋ำตอนบน” ซึ่งมีตัวแทนแกนนำผู้หญิง จำนวน 20 คน (จาก 10 หย่อมบ้าน) นำร่องโดยแกนนำผู้หญิงลาหู่ อ่าข่า และจีนยูนนาน เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนสถานการณ์และเป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมอาชีพ การพัฒนาศักยภาพของผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมือง ในรูปแบบเครือข่ายให้มีพลังที่นำไปสู่การทรัพยากรอย่างยั่งยืน



เป้าหมาย ผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมืองลุ่มน้ำแม่ต๋ำมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีจิตอาสา มีศักยภาพในการเป็นผู้นำ และสามารถขับเคลื่อนเครือข่ายได้ด้วยตนเอง