คะติมะ หลี่จ๊ะ

          สมัยก่อนไม่มีน้ำดื่มคนในชุมชนต้องเดินไปตักน้ำเช้าตรู่ที่ลำห้วยห่างจากชุมชน 1 กิโลเมตร ต้องตื่นเช้าตรู่เพื่อเดินไปตักน้ำแล้วแบกใส่หลังกลับมา ภาพคือคนต่อแล้วต่อรอตักน้ำบ่อเล็ก ๆ บ่อเดี่ยว มีคนตักน้ำเยอะ น้ำก็จะขุ่น ใช้ขันตักที่ละขันใส่แกลลอน 5 ลิตร 10 ลิตร 20 ลิตร แล้วแบกเดินกลับมา ใครไปเช้าสุดได้ตักน้ำใส จึงต้องตื่นเช้าเพื่อไปตักน้ำกลับมาทำอาหาร และเตรียมตัวไปไร่ กับไปโรงเรียน

          จนมีวันหนึ่งผู้ชายชื่ออาปาปิก็มาบอกว่าเห็นตาน้ำออกใต้ต้นไทร ทำบ่อเล็กสามารถดื่มได้ทั้งชุมชน จึงชวนกันไปดู เห็นมีตาน้ำขุดบ่อเล็กให้กว้างพอมีน้ำขัง จากนั้นก็ระดมเงินกันคนในชุมชน ไปซื้อท่อน้ำประปามาต่อจนมาถึงในชุมชน ต่อมีระดมเงินได้และบวกเงินบริจาคจากศาสนาคริสต์ที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในหมู่บ้าน ได้สร้างแทงค์เก็บน้ำดื่ม เพื่อให้เพียงพอคนในชุมชนจนมีน้ำดื่มทุกวันนี้

          บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อาปาปิ เป็นบ่อน้ำที่ใช้ดื่ม และใช้ในการประกอบพิธีกรรมของคนในชุมชนทุกพิธีกรรม เป็นบ่อน้ำที่ออกใต้ไทร และมีกฎกติการ่วมกันว่าดื่มและประกอบพิธีกรรมเท่านั้น ไม่ใช้ล้างสิ่งของ และอาบ ทุกคนในชุมชนก็ยอมรับข้อตกลงนี้ร่วมกัน

          ด้วยเหตุนี้คนในชุมชนจึงจัดทำพิธีกรรมเลี้ยงป่าต้นน้ำดื่มทุกปีประจำ โดยใช้ไก่ เครื่องประกอบพิธีกรรมทั้งหมดมาจากการระดมเงินคนในชุมชนทั้งหมด เพื่อเป็นการขอบคุณ และขอพรเจ้าที่ป่าต้นน้ำดื่มให้คนในชุมชนมีน้ำดื่มตลอดไป

          น้ำดื่มมีความสำคัญจึงมีความเห็นชอบของคนในชุมชนสู่การจัดการป่าชุมชน กิจกรรมปลูกป่าอนุรักษ์ป่าต้นน้ำดื่มโดยชุมชนเอง

          จากที่ทำงานประเด็นปัญหาทรัพยากรธรรมชาติมา ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ ต้องได้รับความเห็นร่วมของคนในชุมชน

          คนในชุมชนมักจะเดินเข้าป่าเป็นกิจวัตรประจำ ดังนั้นจึงเห็นป่าแทบทุกวัน เข้าป่าบ่อยกว่าเจ้าหน้าที่ป่าไม้อีก โดยชุมชนเป็นหย่อมบ้านเล็ก ที่ไม่มีผู้นำทางการเลย คนในชุมชนจึงช่วยกันคิด ช่วยกันทำเพื่อให้คนในชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข

          ด้วยน้ำมีความสำคัญในการหล่อเลี้ยงชีวิต หล่อเลี้ยงทุกครอบครัวในชุมชน มีน้ำดื่มที่สะอาด เพียงพอ น้ำดื่มออกใต้ต้นโพธิ์หนึ่งต้นใหญ่ ทั้งชุมชนช่วยกันขุดเป็นบ่อเล็กสร้างปูนรอบและด้านบนปิดมีประตูเปิดปิดด้วยมีกุญแจแค่คณะกรรมการ

          ทำให้มีความเห็นร่วมกันว่าปลูกป่าเพื่อให้ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ และไม่ตัดไม้ไปใช้ในบริเวณนี้ จึงเชิญชวนภาคีเครือข่าย และผู้นำในพื้นที่มาร่วมพิธีกรรมปลูกป่า และทำพิธีกรรมบอกกล่าว ขอบคุณ และฝากให้เจ้าป่าเจ้าเขาช่วยดูแล

          โดยใช้ต้นโพธิ์เป็นเสาหลักเพราะเป็นต้นไม้ใหญ่สุดบริเวณนี้ และน้ำออกใต้ต้นโพธิ์ต้นนี้ด้วย วัสดุอุปกรณ์ กระดาษหลากสี ธูป เทียน ขนม และไก่ในการทำพิธีกรรมช่วยระดมกันออกทุกบ้านตามกำลังแต่ละคนที่มี สิ่งที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทั้งหมด เป็นทำบุญเลี้ยงเจ้าป่าเจ้าเขา และเจ้าน้ำด้วย มีป่าจึงมีน้ำดื่มเลี้ยงชีวิตคนในชุมชนความเรียบง่ายที่หาวัตถุดิบตามธรรมชาติที่มี และการประกอบพิธีกรรมที่เรียบง่ายแต่แฝงไว้ด้วยความเชื่อ เพราะหลังจากทำพิธีกรรมไป มีบางคนไปตัดต้นไม้หนึ่งต้น  ก็เจอกิ่งไม้หล่นใส่โดยไม่มีสาเหตุ ทำให้รู้ความผิดตัวเอง ต้องไปขอขมาแก้ตัวกับเจ้าป่าเจ้าเขาผ่านการทำพิธีกรรม ทำให้ไม่มีใครกล้าไปตัดไม้ในบริเวณนั้นมาใช้อีก เป็นคนแรก และคนสุดท้าย เพราะใช้เวลาแก้ไขเป็นปีเนื่องจากป่วยหาสาเหตุที่มาไม่ได้  รักษายังไงก็ไม่หาย หนักสุดคือตกต้นไม้รู้สึกมีคนถีบตก และมีกิ่งไม้หล่นทับตามด้วย เจอกับตัวไม่เชื่อก็ไม่ใช่ แต่สิ่งที่บอกกล่าวเจ้าป่าเจ้าเขาเป็นความเห็นชอบคนในชุมชนเพราะต้องการรักษาต้นไม้แถวนี้ให้เป็นป่าต้นน้ำดื่ม และยังมีการจับแผนที่ จึงเป็นการเห็นชอบร่วมกัน ดังนั้นสิ่งที่ผู้ชายคนนั่นได้รับ เป็นผลมาจากการกระทำของตนเอง ไม่สามารถเอาผิดใคร และติดใจใครได้ กฎความเชื่อในชุมชนจึงมีศักดิ์สิทธิ์ และน่าเกรงขาม ทำตามมากกว่ากฎหมายข้างนอกชุมชน

          ด้วยวิธีชีวิตที่เชื่อมโยงกับความเชื่อว่าทุกสิ่งอย่างมีเจ้าของ ทั้งอากาศ น้ำ ป่า ดิน การใช้ทุกอย่างจึงต้องใช้ในการยันชีพเท่านั้น ใช้เกินความจำเป็นก็เท่ากับละเมิดสิ่งที่มองไม่เห็น แม้แต่โลงศพที่จะเอามาทำต้องทำพิธีกรรมขออนุญาต หรือซื้อกับเจ้าป่า ไม่งั้นมีความเชื่อว่าคนตายไม่ได้ไปด้วย  หลายปีผ่านไปจึงเกิดความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น มีน้ำชื้นลำห้วยตลอดปี

          ด้วยชุมชนสันป่าเหียงอยู่ใกล้เขตป่า คณะกรรมการมีการทำแผ่นที่รายแปลงที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัยร่วมกัน โดยการสนับสนุนขององค์กรภาคีภาคประชาสังคมเป็นหลัก

          ในงานบวชป่า ปลูกต้นไม้ จึงมีกิจกรรมรับรองแผนที่ โดยการเชิญตัวแทนองค์กรภาคี เครือข่ายลีซู เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง

          เครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย มูลนิธิ AIPP มูลนิธิIPF และสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมชาวไทยภูเขาแห่งประเทศไทย และหน่วยงานปกครองพื้นที่ ปลัดอำเภอเชียงดาวแทนนายอำเภอเชียงดาว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคอง กำนันตำบลเมืองคอง และสหพันธุ์เกษตรภาคเหนือ มีตัวแทนมาเซ็นต์รับรองแผ่นที่ชุมชนบ้านสันป่าเหียง

          เป็นการย่อมรับในทางนิตินัย และพฤตินัยว่าแผนที่เหล่านี้ได้รับความเห็นชอบ และสนับสนุน เว้นแต่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ในพื้นที่เชิญไปแล้วแต่ไม่มาร่วมกิจกรรม มีทหารในพื้นทีตำบลเมืองคองมาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ตั้งชุมชนมาที่มีตัวแทนหน่วยงานลงมาในชุมชนเล็ก ๆ บ้านสันป่าเหียงเยอะที่สุด เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและยังมีการมอบเอกสารข้อมูลรายแปลงให้ชาวบ้านรายครอบครัว ความมั่นใจ ความอุ่นใจ ความสุขใจ ในความเหนื่อล้าของคนทำงานที่ทำข้อมูลแผ่นรายแปลง และแก้ไขมาใช้เวลา 4 ปีกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ และยังมีขอบเขตในการใช้ป่า กฎระเบียบในการใช้ป่าที่เห็นร่วมกันของคนในชุมชน

          ทำให้ชุมชนเล็กแห่งนี้มีกฎระเบียบที่ใช้ร่วมกันในชุมชน และยังมีการทำฝายชะลอน้ำให้บริเวณป่าต้นให้น้ำอุดมสมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ตาน้ำเล็ก ๆ ใต้ต้นโพธิ์แต่ประชากร 250 คนในชุมชนดื่มกินได้ตลอดปี และยังมีชุมชนใกล้เคียงมาขอตักน้ำดื่มไปใช้ประจำ เพราะชุมชนอื่น ต้องซื้อน้ำดื่มเป็นรายเดือน ชุมชนนี้ช่วยกันรักษา ช่วยกันดูแล เสียหาย ชำรุด ระดมเงินช่วยกันซ่อมกันเอง ทำให้ไม่มีค่าน้ำดื่มที่ต้องจ่ายรายปี ชุมชนอื่นมาตักดื่มไปใช้ก็ไม่เคยมีการเก็บเงิน ดื่มน้ำรักษาน้ำ มีป่าจึงมีน้ำดื่ม

          การจัดการป่าโดยชุมชนวันนั้น จากที่ลำห้วยเล็กนี้เคยแห้งแล้งมาหลายปี หลังจากทำฝ่ายชะลอน้ำ บวชป่าปลูกป่าเพิ่มในครั้งนั้น ทุกวันนี้มีน้ำไหลอยู่ลำห้วยเล็กที่ติดบริเวณบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อาปาปิ แรงกายในวันนั้นทำให้มีผลในวันนี้ ใช้เวลาฟื้นฟูป่าเป็นระยะเวลาสามปี เริ่มจากสำรวจแปลงความหลากหลาย 3 ขนาด และมีการตรวจเช็คต้นไม้ทุกปีและยังมีข้อตกลงร่วมกันว่าไม่ตัดไม้บริเวณป่าต้นน้ำบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อาปาปิไปใช้ แต่จะช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูให้ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด นำพืชอื่นมาปลูกแซมให้ป่ามีความหลากหลาย เพราะมีป่าก็มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อาปาปิใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งระดับชุมชน ระดับครอบครัว ทุกวันพระจะไปตักน้ำอาปาปิมาล้าง และเปลี่ยนแก้วในหิ้งชูชาในครอบครัวประจำไม่ขาด และสม่ำเสมอ

          ด้วยน้ำอาปาปิเป็นน้ำที่สะอาดที่สุดมีรสชาติที่อร่อยกว่าน้ำดื่มที่ขายในร้านค้าอีก นำมาเทียบกันมีความใสที่ต่างกันมาก  จึงเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมของคนในชุมชน

          ภาพปัจจุบันป่ามีความร่มเย็น ต้นไม้มีขนาดใหญ่ขึ้น ป้ายที่ติดไว้ในบริเวณบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อาปาปิ และป้ายกำกับต้นไม้ในแปลงสำรวจทั้งสามแปลงก็ยังมีอยู่ ถึงไม่ครบทุกต้นก็ตาม ด้วยการยอมรับเห็นชอบร่วมกันของคนในชุมชน จึงช่วยกันรักษาป่าบริเวณบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อาปาปิ จนมีน้ำดื่ม และน้ำที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมของคนในชุมชน ตั้งแต่กเกิดยันตาย ทุกพิธีกรรมตักจากบ่อน้ำศักดิ์อาปาปิทั้งหมด มีป่า มีน้ำ หล่อเลี้ยง ชีวิตคนในชุมชนบ้านสันป่าเหียง