ถือเป็นวาระสำคัญที่ชนเผ่าพื้นเมืองจากทั่วโลกเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดอีกครั้ง หลังจากเมื่อปลายปี 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการรับรอง #กรอบงานคุณหมิงมอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework) ของภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อคุ้มครองพื้นที่ทางบกและทางทะเลให้ได้ 30×30 ภายในปี ค.ศ. 2030 ถือเป็นกรอบงานที่บัญญัติถึง #การยอมรับและเคารพสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นและแผ่นดินตามบรรพบุรุษ

ดังนั้นรัฐภาคีได้ตัดสินใจที่จะ #พัฒนากลไกภายใต้มาตรา8jและบทบัญญัติอื่นๆ ของอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ #สอดคล้อง กับ #KMGBF และ #ด้านสิทธิมนุษยชน

ในช่วงระหว่างวันที่ 12-16 พ.ย.2566 เป็นการประชุมครั้งที่ 12 ของคณะทำงานระหว่างประเทศเฉพาะกิจเกี่ยวกับมาตรา 8j และบทบัญญัติที่เกี่ยวกับของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ณ เจนีว่า ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งถือเป็นการเจรจาระหว่างประเทศกับชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น

ในขณะที่ทั่วโลกมีความตื่นตัวและยืนยันว่า “#ชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นนั้นเป็นผู้ปกป้องผืนป่าชั้นดี ดังนั้น #การให้สิทธิในที่ดินแก่พวกชนเผ่าพื้นเมืองเป็นวิธีที่มีประสิทธิผลที่สุดในการลดก๊าซเรือนกระจก” และในมาตรา 8 (j) ในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้ยืนยันถึงความสำคัญของ “#องค์ความรู้ชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และใช้อย่างยั่งยืน

ดังนั้นผลการเจรจาในครั้งนี้ จึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญต่อชนเผ่าพื้นเมืองเป็นอย่างยิ่ง และต้องเชิญชวนในการเฝ้าติดตามรัฐบาลไทยในการดำเนินงาน โดยเฉพาะการทบทวน #แผนงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (National biodiversity strategies and action plan: #NBSAP) เพื่อให้สอดคล้องกับ KMGBF

#ชนเผ่าพื้นเมืองอยู่ที่ไหนในกระบวนการทบทวนNBSAP

#OurVoicesOurRights#TransformativePathway#FPP#DiakoniaThailand#AIPP#IIFB#NIPT#CIPT

เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

Credit pic #Gordon

รายงาน 12 พ.ย.2566 จากเมืองเจนีว่า ประเทศสวิสเซอร์แลนด์