อัครพล ทุกมูแฮ
คนเมืองมีเจ้าบ้านเป็นใหญ่ ในป่าเขาก็มีเจ้าป่าเจ้าเขา ส่วนเราชาวปาเกอะญอก็มี “ฮี่โข่” เป็นผู้ดูแล
ทุกสรรพสัตว์ล้วนมีผู้นำเป็นของตนฉันใด ปกาเกอะญอก็มีฮี่โข่เป็นผู้นำฉันนั้น วัฒนธรรมฮี่โข่นี้เป็นวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น คือจากรุ่นปู่สู่รุ่นพ่อมารุ่นลูก หากเปรียบกับวัฒนธรรมไทยก็เป็นการสืบสันตติวงศ์ของราชวงศ์ ฮี่โข่ของชาวปกาเกอะญอนี้เป็นตำเเหน่งสูงสุด เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณเป็นเจ้าของหมู่บ้าน ซึ่งฮี่โข่มีหน้าที่ นำประกอบพิธีกรรมทุกๆอย่าง ต้องนำฤกษ์ปลูกพืชพันธุ์เก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องคอยอวยพรลูกบ้าน ต้องปกป้องหมู่บ้านดูเเลลูกบ้านให้พ้นจากเพศภัยทั้งทางการเมืองเเละสิ่งเหนือธรรมชาติ แต่มาบัดนี้ยุคสมัยก็ได้เปลี่ยนไป ความคิดคนก็เปลี่ยนไป ทั้งความคิดของฮี่โข่ ความคิดของผู้ตาม เเล้วความคิดของคนรุ่นใหม่ก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมจากดั้งเดิมไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งตามยุคสมัย
พะตี่เเก้ว (คุณลุงแก้ว) ฮี่โข่คนล่าสุดของหมู่บ้านแม่สะป๊อก ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง ฮี่โข่รุ่นที่ 4 ของหมู่บ้าน แต่อยู่ในตำแหน่งนี้เป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้ว พะตี่เเก้วได้เล่าว่าพิธีการในการแต่งตั้งฮี่โข่คนใหม่ ฮี่โข่คนใหม่นั้นต้องสืบเชื้อสายตระกูลมาจากฮี่โข่คนเก่าปาเกอญอเรียก “อ่าเจอ” หรือคนสืบเชื้อสาย และต้องเป็นลูกผู้ชายเท่านั้น การแต่งตั้งฮี่โข่ใหม่มีด้วยกัน 2 วิธี คือ วิธีแรก ฮี่โข่คนเก่าจะพาอฮี่โข่คนใหม่ไปทำพิธีใต้ต้นไม้ประจำตัวและขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตั้งผู้นำคนใหม่ วิธีที่สอง คือ หลังการเสียชีวิตของฮี่โข่ ฮี่โข่ไม่ได้แต่งตั้งใครไว้ ชาวบ้านต้องรอเป็นเวลา 3 ปี ถึงจะแต่งตั้งใหม่ได้ โดยผู้อาวุโสในชุมชนจะช่วยกันตามหาทายาทของตตระกูลฮี่โข่ที่มีลำดับเชื้อสายที่ใกล้เคียงที่สุด เพื่อทาบทามให้มารับตำแหน่งผู้นำของชุมชนคนถัดไป
สำหรับกรณีของพะตี่แก้ว ที่จริงแล้วคนที่ต้องรับหน้าที่นี้ควรจะเป็นพี่ชายคนโต แต่เมื่อพี่ชายปฏิเสธไป ภาระการเป็นผู้นำจิตวิญญาณของชุมชนจึงตกมาอยู่ที่พะตี่แก้ว การที่จะมาเป็นฮี่โข่นี้ ถือเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ เเละต้องพร้อมรับมือกับปัญหาอันใหญ่ยิ่ง มีปัญหาและพิธีกรรมจารีตมากมายที่ต้องดูเเล ต้องประคับประคองจารีตดั้งเดิมนี้ ควบคู่กับความเชื่อที่หลากหลายของคนในหมู่บ้าน ที่ถูกแทนที่ด้วยศาศนาต่าง ๆ ปัญหาการความแตกแยก การทำผิดประเพณีในหมู่บ้าน ก็ไม่สามารถแก้ไขด้วยระบบฮี่โข่ได้อย่างเบ็ดเสร็จเหมือนดังแต่ก่อน เพราะความเชื่อของคนเริ่มเปลี่ยนไปตามศาสนาใหม่ที่รับเข้ามา การจะปกครองชุมชนให้อยู่ในขอบเขตจารีตประเพณีของคนปกาเกอะญอให้คงอยู่เหมือนในอดีตนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในยุคนี้ บ่อยครั้งที่พะตี่แก้วเองคิดถอดใจ อยากยุติบทบาทการเป็นฮี่โข่ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้โดยง่ายเช่นกัน เพราะเชื่อกันว่าการจงใจละทิ้งบทบาทนี้ อาจก่อเกิดอาเพศร้ายแรงได้ อีกทั้งยังมีชาวบ้านอีกจำนวนไม่น้อย ที่ยังพึ่งพิงจิตใจกับความเป็นฮี่โข่อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อถึงคราวต้องประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ
ส่วนกรณีของหมู่บ้านห้วยข้าวลีบ ชุมชนใกล้เคียงกัน หลังจากขาดผู้นำฮี่โข่เกือบ 20 ปีมาแล้ว พือคลึดึ (คุณตาคลึดึ) ก็กลายมาเป็นหนึ่งในผู้นำอาวุโสของหมู่บ้าน พือคลึดึ ได้เล่าว่าการขาดตอน ของฮี่โข่นั้นเกิดจากการเสียชีวิตของฮี่โข่คนก่อนซึ่งเป็นคนหน่ม ผู้อาวุโสของหมู่บ้านเคยไปตามหา “อ่าเจอ”ซึ่ง ซึ่งตอนนั้นทายาทฮี่โข่โดยการสืบสายตระกูลได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านอื่นแล้ว บรรดาผู้อาวุโสของหมู่บ้านเคยเชิญมาแล้วครั่งหนึ่งเเต่เขาก็ไม่ย่อมกลับมา ทำให้ขาดผู้นำของหมู่บ้าน ผู้อาวุโสก็ลำบากใจ ไม่สามารถตัดสินใจหรือทำพิธีกรรมได้อย่างเด็ดขาด บ้างครั้งก็มีปัญหาในหมู่บ้าน จึงทำให้ผู้นำชุมชนและผู้อาวุโสร่วมกันเเก้ปัญหาเเทน ในความคิดของพือคลึดึ นั้น อยากจะให้มีผู้นำฮี่โข่กลับมา เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับหมู่บ้าน เเต่ถ้าไม่มีผู้นำต่อไป ภูมิปัญญาเเละพิธีกรรมทคงเป็นที่น่ากันวน ที่จะสูญสิ้น เพราะมีเเต่ผู้นำอาวุโสที่รู้หลักพิธีไร้คนรุ่นใหม่สนในปัจจุบัน
ส่วนหมู่บ้านห้วยอีค่าง ก็ได้สิ้นสุดผู้นำฮี่โข่แล้วเหมือนกัน จากการเล่าของ แม่หลวงเเอ่ริ การสิ้นสุดของฮี่โข่ของหมู่บ้านนั้นเกิดจากฮี่โข่ไม่มีบุตรเเละหลานที่เป็นผู้ชายโดยเป็นการสิ้นสุดที่ไม่มีใครสามรถมาทำแทนได้ ส่วนพิธีกรรมก็ให้ผู้อาวุโสของหมู่บ้านเป็นผู้ดูเเลเเทน โดยมีการตั่งกฏกลางของหมู่บ้านเป็นที่ตั่ง
ในยุคสมัยใหม่ที่คนมีความคิดที่เปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่เริ่มกล่าวหาวัฒนธรรมที่ล้าหลัง บางคนก็อายที่จะพูดอายที่จะกล่าวถึง มีความรู้ใหม่ศาสนาที่ขัดต่อความเชื่อดั้งเดิม น้อยคนที่จะรู้จักสถานะการเป็นของฮี่โข่และที่มาของตำแหน่งนี้หากยังไม่มีการรื้อฟื้นหรือให้ความสำคัญกับเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง คงไม่นาน “ฮี่โข่” ของชุมชนปกาเกอะญาอาจกลายเป็นแค่ตำนาน
บทความนี้ได้รับการสนับสนุนโดย: Diakonia ภายใต้โครงการ: Re-thinking Democracy – Trak
Disclaimer: This publication was produced with the financial support of Diakonia. Its contents are the sole responsibility of Ton Kla Indigenous Children and Youth Network (TKN) and Inter Mountain Peoples Education and Culture in Thailand Association (IMPECT) and do not necessarily reflect the views of Diakonia.
สนับสนุนกระบวนการฝึกอบรมโดย: