พรชัย ชมพนา
เมื่อคนเราเผชิญกับความเจ็บป่วยทางร่ายกายและจิตใจคนส่วนใหญ่มักพึ่งพิงการรักษาด้วยการแพทย์ที่มีพื้นฐานมาจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งหลายๆ กรณีการรักษาด้วยการแพทย์สมัยใหม่สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยและรักษาโรคเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี จากข้อเท็จจริงก็มีหลายกรณีที่อาการเจ็บป่วยของคนเรานั้นรักษาด้วยการแพทย์สมัยใหม่ไม่หาย หรือถ้าหายก็กลับมาป่วยด้วยอาการเดิมอีก จึงทำให้มีหลายคนหันไปหาศาสตร์การแพทย์อื่นเพื่อเป็นทางเลือกในรักษาอาการเจ็บป่วยที่เผชิญอยู่ เช่นเดียวกับชนเผ่าลีซูที่มีการใช้การประกอบพิธีกรรม ”อื้อเปาะ” มาช่วยในการรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ในมุมมองทางการแพทย์สมัยใหม่หรือทางวิทยาศาสตร์อาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ล่าหลัง แต่ชนเผ่าลีซูก็ได้มีการปฏิบัติเป็นการพิสูจน์มาหลายชั่วอายุคนว่าสามารถช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้จนได้มีการสืบทอดส่งต่อกันมาเป็นรุ่นๆ
พิธีกรรมอื๊อเปาะ ซึ่งมาจากคำว่า อื๊อเปาะซานไถ่ ในภาษาจีน แปลลว่า 3 ชั้น เป็นพิธีกรรมการเรียกขวัญที่ชาวลีซูนิยมทำขึ้นเมื่ออาการเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ โดยในขั้นตอนการประกอบพิธีอื๊อเปาะนั้น เจ้าบ้านที่ประกอบพิธีกรรมจะมีการตั้งขันโตก 3 ชั้น ข้างประตูด้านในบ้านฝั่งทิศตะวันออก ซึ่งมีความเชื่อว่าเมื่อแสงแรกส่องมาถึงจะมาทางทิศตะวันออก ขวัญของคนเราที่ไม่อยู่กับเจ้าตัวก็จะกลับมาพร้อมกับสิ่งต่างๆ เช่น มากลับแสงแดด มาลม มากับสัตว์ มากับคน เป็นต้น ในการประกอบพิธีนั้นผู้ประกอบพิธีกรรมจะมีการท่องบทสวดเพื่อเป็นการอันเชิญเทพอยู่ 3 ขั้น ได้แก่ ลำดับที่ 1 ชาวลีซูเรียกว่า เปผ่า เป็นการอันเชิญบรรพบุรุษของตนเองของผู้ประกอบพิธีกรรม 3 รุ่น คือรุ่นหนี่ผะ (ทวด) รุ่นเปผะ(ปู่-น้องชายปู่) รุ่นพ่อ แต่ในบางตระกูลไม่มีเปผะ จึงได้เชิญ อาปาโหม่มาแทน เพื่อมาช่วยตามหาขวัญให้อีกแรง ลำดับขั้นที่ 2 อันเชิญอื้อเปาะมาช่วยตามหาขวัญวิญญาณของคนที่ประกอบพิธีกรรมให้ทุกสารทิศ ทุกภพทุกชาติ และมีลำดับที่3 คือการอันเชิญ เกีย ขวู่ มาช่วยให้ขวัญของคนที่เรียกกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว ผู้ประกอบพิธีกรรมจะมีการสวดเพื่อตามหาขวัญ 2 รอบ โดยรอบแรกจะสวดก่อนที่จะมีการฆ่าหมูหรือไก่หลังจากสวดเสร็จก็จะมีการฆ่าหมูเพื่อดูตับหมูกับดีหมู หรือไก่ ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ประกอบพิธีกรรมกับผู้รู้ที่มาร่วมงานก็จะช่วยกันดูว่าตับหมูที่ใช่ในการประกอบพิธีดีหรือไม่ หรือจะต้องประกอบพิธีกรรมอื่นๆอะไรเพิ่มเติมอีกไหม รอบที่สองผู้รู้ก็จะสวดหลังจากต้มหมูสุกแล้วโดยใช้หัวหมู หัวใจ และเครื่องใน ซี่โครง7ซี่ พอสวดเสร็จก็จะมีการมัดสายสิญจน์ครองคอให้กับคนที่ประกอบพิธีกรรม และมีการเชิญผู้นำสายตระกูลในชุมชนมาช่วยมัดสายสิญจน์ให้อีกด้วย โดยต้องเป็นผู้นำสายตระกูลอย่างน้อย 3 สายตระกูล ที่มีสุขภาพแข็งแรง ทำมาหากินขึ้น เป็นการให้พรให้ศีลให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยหายไวไว การประกอบพิธีกรรมอื๊อเปาะสามารถทำได้ไม่จำกัดครั้ง โดยชาวลีซูนิยมทำปีละ 1-2 ครั้ง สำหรับการเรียกขวัญตามความเชื่อของชนเผ่าลีซู แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ การเรียกขวัญขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง และขั้นสูง โดยส่วนมากมักจะมี 4 ปัจจัยหลัก ที่นำมาสู่การพิจารณาเพื่อประกอบพิธีกรรมเรียกขวัญ ได้แก่ 1) หนี่ผะหรือร่างทรงทัก 2) เป็นปีเกิดและปีชง 3) ความฝันที่เป็นลางไม่ดีตามความเชื่อของลีซู อาทิ ฝันว่าเดินหันหลัง ฝันว่ากำลังนอน ฝันว่าเดินเข้าป่า และ 4) สุขภาพร่างกายอ่อนเพลียหรือมีอาการเจ็บป่วย โดยใน 3 ปัจจัยแรกมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประกอบพิธีกรรมเรียกขวัญ เนื่องจากชาวลีซูมีความเชื่อว่าหากไม่ประกอบพิธีกรรมเรียกขวัญจะยิ่งทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด เนื่องจากขวัญวิญญาณของบุคคลนั้นได้ไปเกิดใหม่ในภพอื่นไปแล้ว และทำให้อายุขัยในภพปัจจุบันสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตามการเลือกระดับของการเรียกขวัญของชาวลีซูนั้นจะขึ้นอยู่กับการแนะนำของร่างทรงที่เป็นผู้มีประสบการณ์ในหมู่บ้าน (ซึ่งส่วนมากเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน) โดยจะพิจารณาจาก 4 ปัจจัยหลัก ตามที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น เช่น ในกรณีที่ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือร่างทรงทักมักจะเริ่มต้นด้วยการประกอบพิธีกรรมในระดับกลางคือ อื๊อเปาะ ในกรณีที่แต่งงานแล้วการประกอบพิธีกรรมอื้อเปาะมักจะทำร่วมกับพิธีกรรมเรียกขวัญระดับอื่น ๆ อาทิ อื๊อเปาะร่วมกับต๊ะเฉาะ อื๊อเปาะร่วมกับเปาะฝู อื๊อเปาะร่วมกับซาลาหลั่ว เป็นต้น สำหรับคนที่ยังไม่แต่งานหรือยังไม่มีครอบครัวชาวลีซูจะไม่นิยมทำพิธีกรรมอื้อเปาะให้
ในสังคมชนเผ่าพื้นเมืองก็มีพิธีกรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับพิธีกรรมอื้อเปาะของชาวลีซู แต่ก็ไม่มีศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์มาช่วยอธิบายให้กระจางแจ้งได้สามารถรักษาหรือบรรเทาการเจ็บป่วยได้จริงไม แต่ในมิติทางสังคมหรือจิตวิทยาก็สามารถให้คำตอบได้โดยเป็นการให้กำลังใจตามความเชื่อของตนเองให้คนที่ประสบภัยไข้เจ็บมีกำลังใจในจนทำให้มีพละกำลังในการต่อสู่กับโรคภัยไข้เจ็บได้