ปิ่นสุดา นามแก้ว
ปิดบัง ซ่อนเร้น หรือเป็นตัวเอง
“เยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง” กับการผันเปลี่ยนของยุคสมัยดิจิทัล ที่เทคโนโลยีเริ่มผลและมีบทบาทมากขึ้น ทั้งในชุมชนพื้นที่ห่างไกลและชุมชนในเมืองที่เยาวชนอาศัยอยู่ กับการต้องปรับตัวให้เท่าทันและไม่ลืมรากเหง้าตัวตนการเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของตนเอง
ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีและยุคสมัยก้าวไปไกลมากในชุมชนของชนเผ่าพื้นเมือง ที่มีวิถีชีวิต อัตลักษณ์และวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่า แต่ยังมีอีหลากหลายชุมชน ที่ยังคงไว้ในวีถีวัฒนธรรมประเพณีแบบดั้งเดิมอย่างสวยงาม บางชุมชนเริ่มมีการผันเปลี่ยนตามกาลเวลา เพื่อที่จะสามารถคงอยู่ในยุคสมัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน แต่ยังคงไว้ซึ่งความสวยงามของวัฒนธรรมประเพณีชนเผ่าพื้นเมือง
ชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง มีไม่มากนัก ที่ยังคงมีเยาวชนอาศัยอยู่ในพื้นที่และประกอบอาชีพในชุมชนได้
ด้วยยุคสมัยกาลเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เยาวชน ชนเผ่าพื้นเมืองเริ่มมีการออกจากชุมชน เพื่อไปศึกษาเล่าเรียน และหางานทำเพื่อประกอบอาชีพ และเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สามารถหาเลี้ยงชีพตนและครอบครัวได้ เนื่องด้วยในบางชุมชน และในบางพื้นที่ไม่ได้เอื้ออำนวยต่อการประกอบอาชีพที่สามารถหารายได้มาจุนเจือครอบครัวได้ จึงมีเยาวชนออกจากชุมชนเพื่อค้นหาประสบการณ์ด้านอาชีพที่สามารถเลี้ยงชีพและครอบครัวได้
แต่ทว่าการอาศัยอยู่ในเมืองเพื่อสร้างตัวตนนั้น บ้างก็กลายเป็นลืมตัวตนของตนเอง ว่าตนเองเป็นใคร บ้างก็ยืนหยัดและภูมิใจในความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของตน ที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น และวิถีวัฒนธรรมที่สวยงาม ภาษาที่ควรค่าแก่การรักษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมไว้
“เยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง” ที่อาศัยอยู่ในเมืองหรืออยู่ร่วมกับสังคมที่มีผู้คนหลากหลาย ไม่ว่าจะเรียนหนังสือหรือทำงาน ต่างมีประสบการณ์และมุมมองที่เคยมีคนอื่นมองเข้ามาเสมือนว่า “ เราเป็นคนแปลก เราคือคนอื่น ” ด้วยสังคมที่มีการล้อเลียน การแบ่งแยก ความไม่เท่าเทียม และการเลือกปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยกัน
อีกทั้งยังมีนโยบายหรือกฎหมายที่ชนเผ่าพื้นเมืองยังเข้าไม่ถึง ด้วยสถานการณ์ปัญหาพื้นที่ห่างไกล ปัญหาด้านสถานะบุคคล ปัญหาด้านสุขภาพ และปัญหาด้านการศึกษา เป็นสิ่งที่เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ยังเข้าถึงได้ไม่เต็มที่ จึงเป็นปัญหาพื้นฐานที่เรายังขาดสิทธิ ขาดโอกาสในการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม จึงทำให้เยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองบางคนเลือกที่จะปิดบังตนเองจากผู้อื่นที่มองเข้ามา และพยายามเป็นอื่นที่ไม่ใช่ตัวตนของตนเอง
การกลายเป็นอื่น เป็นจุดเริ่มต้นของ “การลืมรากเหง้า” ของตนเอง การพยายามที่จะเป็นหนึ่งเดียวกับคนอื่นโดยไม่รักษาอัตลักษณ์หรือรากเหง้าของตนเองเอาไว้ เป็นหนทางแห่งการที่ตัวตนของความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองเริ่มจางหายไป
เยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองคนรุ่นใหม่ เป็นกำลังสำคัญที่จะต้องหันมาให้ความสำคัญ อนุรักษ์ และปกป้องคุ้มครองวิถีชีวิตความเป็นอัตลักษณ์ชนเผ่าพื้นเมืองไว้ไม่ให้หายไป และให้คงอยู่เพื่อคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ เข้าใจ รู้จักตนเอง และไม่ลืมรากเหง้าความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของตน
ในปัจจุบันจึงมีภาคีเครือข่ายและองค์กรภาคประชาสังคม ภาครัฐ ที่ขับเคลื่อนประเด็นชนเผ่าพื้นเมือง
ทั้งในด้านสิทธิ และการผลักดันร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ….. และร่วมสนับสนุนผลักดันให้เกิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง (จำนวน ๕ ฉบับ) ด้วย โดยปัจจุบันร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 5 ฉบับนั้น ได้ผ่านวาระแรกในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และเข้าสู่การพิจารณาในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมายฯ เป็นที่เรียบร้อย
ว่าด้วยการผลักดันให้ร่าง พ.ร.บ.กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าพื้นเมืองนั้น ให้ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิเท่าเทียมและเข้าถึงสวัสดิการได้อย่างเท่าเทียมกับทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัตินั้น ยังคงเป็นเรื่องที่เรายังคงต้องต่อสู้และผลักดันร่วมกัน ทั้งภาคประชาสังคม ภาครัฐ และอีกทั้งภาคภาคีเครือข่ายที่ขับเคลื่อนประเด็นเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าพื้นเมือง ให้มีส่วนร่วมในพัฒนาประเทศทุกมิติ พร้อมเปิดทางเข้าถึงสิทธิอย่างเท่าเทียม เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนรู้จักตัวตนและรากเหง้าของตนเอง เพื่อที่จะได้มีความภาคภูมิใจในความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่มีเอกลักษณ์ด้านการแต่งกาย ภาษาพูด และอัตลักษณ์ด้านวิถีวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้รู้จักคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ และไม่ลืมรากเหง้าของตนเอง
การรู้จักตนเองว่าเราเป็นใคร มีความภาคภูมิใจในความเป็นชนเผ่าพื้นเมือง จะนำไปสู่การที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ กล้าที่จะเปิดเผยตนเอง โดยไม่ซ่อนเร้นตัวตนจริงๆของตนเอง กล้าที่จะบอกผู้คนในสังคมว่าฉันเป็นชนเผ่าพื้นเมือง และกล้าที่จะไม่ปิดบังตัวตนของตนเอง ต่อตนเอง และผู้อื่นในสังคม
การที่เยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองคนรุ่นใหม่ “กล้าที่จะเปิดเผยตัวตน โดยไม่ปิดบัง ซ่อนเร้น การเป็นตัวของตัวเองนั้น ” จะทำให้เยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองคนรุ่นใหม่ กล้าที่จะเผชิญต่อโลกภายนอก และพร้อมที่แสดงศักยภาพที่ตนเองมีได้ทุกเมื่อ เมื่อมีพื้นที่และมีโอกาส เพราะการที่เยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองได้มีพื้นที่ที่สามารถแสดงศักยภาพของตนเองนั้น เป็นการเปิดโอกาสให้เขาได้รู้จักตัวเองมากขึ้น เข้าใจและมีความภาคภูมิใจในความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของตนเอง ผ่านการได้เรียนรู้ตัวตนของตนเอง ได้เรียนรู้ภาษาพูดของชนเผ่า เรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าตนเอง ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้ ไม่สามารถหาได้จากตำราเรียน แต่เป็นสิ่งที่เด็กและเยาวชน
ได้เรียนรู้รากเหง้าความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของตนเองจากผู้รู้ เพื่อส่งต่อรุ่นสู่รุ่นในการถ่ายทอดให้เยาวชนรุ่นใหม่
หรือรุ่นต่อไปได้ศึกษา และมีความภาคภูมิใจ ในความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของตนเอง
ฉะนั้น “อย่ามองชนเผ่าพื้นเมืองเป็นอื่น เราทุกคนคือคน คนหรือมนุษย์ที่พึงมีสิทธิเท่าเทียมกัน เคารพซึ่งกันและกัน ในความหลากหลายของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณีและวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง ” ทั้งนี้เราจะได้เรียนรู้ถึงความสวยงาม ความหลากหลายของสังคมพหุวัฒนธรรม ที่มีอัตลักษณ์วัฒนธรรมประเพณี
ที่ยังคงอยู่คู่กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ และความเป็นชนเผ่าพื้นเมือง จะคงอยู่เป็นตัวเอง โดยไม่ปิดบัง ซ่อนเร้นเป็น
คนอื่น แต่เป็น “ เยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองได้อย่างภาคภูมิใจ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมพหุวัฒนธรรม ”
บทความนี้ได้รับการสนับสนุนโดย: Diakonia ภายใต้โครงการ: Re-thinking Democracy – Trak
Disclaimer: This publication was produced with the financial support of Diakonia. Its contents are the sole responsibility of Ton Kla Indigenous Children and Youth Network (TKN) and Inter Mountain Peoples Education and Culture in Thailand Association (IMPECT) and do not necessarily reflect the views of Diakonia.
สนับสนุนกระบวนการฝึกอบรมโดย: