ภัทรดร ธาราอุดมสุข
(รู้จักสื่อ รู้จักสิทธิให้กับเครือข่ายผู้บริโภคกลุ่มความหลากหลายทางเพศและหลากหลายทางสังคม)
เครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนผ่าพื้นเมือง (TKN) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดอบรมการรู้จักสื่อรู้จักสิทธิให้กับเครือข่าย ผู้บริโภคภายใต้โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายผู้บริโภคสื่อความหลากหลายทางเพศและหลากหลาย ทางสังคม ขึ้น ในระหว่างวันที่ 6 -7 มกราคม 2567 ณ โรงแรม อโรมา ท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อสร้าง เครือข่ายผู้บริโภคกลุ่มความหลากหลายทางเพศและหลากหลายทางสังคม และเพื่อสร้างกลไกความร่วมมือและ การมีส่วนร่วมทั้งด้านการสื่อสาร จัดกิจกรรมติดตามเฝ้าระวังและผลิตสื่อสร้างสรรค์
โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันเปิดกว้างมากขึ้นทั้งในเรื่องของเพศและสังคม ซึ่งคนบางกลุ่มยังไม่ยอมรับเพราะมีภาพจำจากอดีตว่าสังคมควรจะเป็นลักษณะแบบเดิม รวมถึงการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมผ่านหลายช่องทาง เช่น สื่อต่างๆ ซึ่งได้มองเห็นปัญหาในส่วนนี้จึงทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่เป็นตัวกลางในการสื่อสารสำหรับปัญหาตรงนี้
โดยตลอดกระบวนจะมีการ เรียนรู้เรื่องสื่อ (นิเวศน์สื่อ) สื่อกับสิทธิผู้บริโภค สื่อกับความหลากหลายทางเพศ และสื่อกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ รวมถึงแลกเปลี่ยนกรอบการทำงานขับเคลื่อนงานเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเครือข่ายผู้บริโภคกลุ่มความ หลากหลายทางเพศและหลากหลายทางสังคม
ความพิเศษของเวทีนี้คือแกนนำเครือข่ายเด็กเยาวชนต้นกล้าเผ่าพื้นเมือง (TKN) ได้แสดงศักยภาพและเป็นพื้นที่ในการเป็นวิทยากร ฝึกการเป็นผู้เอื้อ ฝึกความเป็นผู้นำที่จะถ่ายทอดความรู้เนื้อหา 4 โมดูลซึ่งเป็นเนื้อหาที่สำคัญและเป็นความรู้รอบตัวที่จะเท่าทันสื่อที่เยาวชนควรตระหนักรู้
โดยโมดูลที่ 1 สื่อ (นิเวศน์สื่อ) นำกระบวนโดย นางสาวศรสวรรค์ วัจน์นาถรุ่งโรจน์ (น้องเปีย) สมาชิกเครือข่าย TKN และประธานเครือข่ายเยาวชนนักศึกษาชาติพันธุ์ม้ง กระบวนการของโมดูลนี้น้องเปียจะนำเสนอภาพรวมของสื่อทั้งหมดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่าสื่อมีวิวัฒนาการแบบไหนเริ่มตั้งแต่สื่อที่เป็นยุคดั้งเดิม ยุคอนาล็อค ยุคดิจิทัล และยุคออนไลน์ รวมไปถึงบทบามของผู้ใช้สื่อเป็นต้น
โมดูลที่ 2 สื่อกับสิทธิผู้บริโภค นำกระบวนโดย นายยศพล โกษาวัฒนกุล (น้องกรุ๊งกริ๊ง) สมาชิกเครือข่าย TKN และคณะกรรมการเครือข่ายเยาวชนนักศึกษาชาติพันธุ์ม้ง โดยโมดูลนี้จะพูดถึง กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคสื่อ โดยจะมีการพูดถึง สิทธิผู้บริโภคสื่อ 7 ข้อพื้นฐานและทำกิจกรรม การร้องเรียนสื่อถือเป็นสิทธิผู้บริโภคโดยจะมีการตั้งคำถามว่า มีโฆษณาทางสื่อวิทยุและสื่อโทรทัศน์ใดบ้างในจังหวัดหรือภูมิภาคของตนเองที่เข้าข่ายการโฆษณาโอ้อวดหลอกลวงเกินจริง รวมไปถึงทำกิจกรรม สู้พิษข่าวลวง โดยจะมีการให้กรณีตัวอย่างมา แล้วให้แต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดเห็นว่าเราควรจะสื่อสารอย่างไรเพื่อให้เห็นถึงความผิดปกติของข้อมูลข่าวสารนั้น ด้วยการแจ้งข้อมูลแก้ไขใหม่ว่าข้อมูลนั้นไม่เป็นจริง
โมดูลที่ 3 สื่อกับความหากหลายทางเพศ นำกระบวนโดย นายภัทรดร ธาราอุดมสุข (ดอน) เยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองและพี่เลี้ยงเครือข่าย TKN เนื้อหาของโมดูลนี้ดอนจะให้ความรู้ มุมมอง ทัศนคติเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศโดยผ่านกิจกรรม แค่คำก็… โดยจะมีการให้คำมา เช่นคำว่า เบี่ยงเบนทางเพศ รักร่วมเพศ ความหลากหลายทางเพศ เพศที่สาม เป็นต้น แล้วจะมีการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละคนเลือกว่าคำเหล่านี้เป็นคำที่ควรใช้ หรือคำที่ควรหลีกเลี่ยง หรือไม่แน่ใจ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบว่าทำไมถึงเลือกแบบนั้น ซึ่งก็จะมีการเฉลยหลังจากที่เราเลือกเสร็จว่าแต่ละคำนั้นควรเป็นอย่างไร ซึ่งก็จะสามารถทำให้เราเลือกใช้คำได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น และมีกิจกรรม ความหลากหลายทางเพศในสื่อ ก็จะมีการให้แต่ละกลุ่มตอบคำถามดังต่อไปนี้คือ รู้สึกอย่างไรกับสื่อที่ได้ สื่อดังกล่าวมีการละเมิดสิทธิความหลากหลายทางเพศอย่างไร หากท่านจะปรับปรุงสื่อดังกล่าวให้เคารพสิทธิทางเพศจะทำอย่างไร โดยจะให้แต่ละกลุ่มได้ข่าวที่แตกต่างกันออกไป แล้วช่วยกันวิเคราะห์ตามคำถามที่กำหนด และมีการนำเสนอเมื่อทำเสร็จแล้ว เป็นการฝึกให้เราเวลาที่จะเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อให้สามารถใช้คำหรือภาษาที่เหมาะสมและไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นได้ดีมากยิ่งขึ้น และเป็นการฝึกให้เราวิเคราะห์ข่าวว่าแต่ละข่าวนั้นนำเสนอได้อย่างถูกต้องสมควรหรือไม่ หรือมีการนำเสนอที่ละเมิดสิทธิหรือไม่ รวมไปถึงแนะนำคู่มือปฏิบัติงานสื่อในการนำเสนอประเด็นความหลากหลายทางเพศ ก็จะเป็นการอธิบายถึงว่า คู่มือเล่มนี้เพื่อเป็นการสะท้อนอคติทางเพศต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศแล้วทำการเสนอถึงแนวทางการดำเนินงานการจัดการ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ในกลุ่มความหลากหลายทางเพศ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงคำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ว่าคำไหนควรใช้คำไหนไม่ควรใช้ คำตีตราที่สร้างอคติด้านลบ สร้างความรุนแรงผ่นภาษาและละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ
และโมดูลที่ 4 สื่อกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ นำกระบวนโดย นายสุรชาติ สมณา (น้องชาติ) ประธานเครือข่าย TKN โดยกระบวนการนี้น้องชาติจะเริ่มโดยการให้ความหมายของ ความหมายของชาติพันธุ์ ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีสมาชิกในกลุ่มแสดงถึงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ผ่านภาษา เครื่องแต่งกาย ความเชื่อ ศาสนา วิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี ความแตกต่างของชาติพันธุ์เป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างและถูกผลิตซ้ำผ่านสถาบันต่างๆในสังคม และมีกิจกรรม อ่านข่าวและชมคลิปวิดิโอ โดยแต่ละกลุ่มจะช่วยกันระดมสมองตอบคำถาม จะเป็นคำถามการวิเคราะห์และประเมินค่า จะทำให้เราได้ฝึกการวิเคราะห์ข่าว ข่าวบางข่าวการใช้คำถือว่าสำคัญมาก เพราะจะทำให้ผู้อื่นเข้าใจตามคำที่เราใช้หรือเทคนิค วิธีการต่างๆ ดังนั้นเราจึงต้องอ่านข่าวให้ละเอียด รอบคอบ และใช้คำในการสื่อสารให้ถูกต้อง เพื่อจะสื่อสารให้กับผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น
จะเห็นจากว่าเนื้อหาข้างต้นที่แกนนำเครือข่าย TKN นำกระบวนร่วมกับทีมอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของกสทช.รวมถึงสมาคม IMPECT ที่เป็นองค์กรพี่เลี้ยงให้กับเครือข่าย TKN ตั้งแต่เริ่มต้นก่อเกิดเครือข่ายและได้เปิดโอกาสรวมถึงสร้างพื้นที่ให้เครือข่าย TKN ได้แสดงศักภาพในการให้ความรู้และเป็นผู้เรียนรู้ในเวลาเดียวกัน และเป็นพื้นที่ในการฝึกความเป็นผู้นำที่ต่อไปข้างหน้าพวกเราจะเป็นตัวแทนของเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่จะเป็นกระบอกเสียงและสร้างเครือข่ายสื่อผู้บริโภคกับกลุ่มความหลายทางเพศและหลากหลายทางสังคมต่อไป