1. หลักการและเหตุผล

ด้วยความร่วมมือของสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท./IMPECT) ร่วมกับสมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์ (สสช.) เครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง และเครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง ได้ร่วมกันดำเนินงานโครงการเสริมพลังสร้างสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์และเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สนับสนุนกระบวนการพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนพื้นที่ปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหา (2) ยกระดับศักยภาพภาคีองค์กรและเครือข่ายสนับสนุน (พี่เลี้ยง) และ (3) พัฒนาชุดความรู้และรณรงค์  ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินงานโครงการ 2 ปี (ครอบคลุมตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 ถึง เมษายน 2563) ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาโครงการได้มีการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ โดยสรุปได้ดังนี้ การเตรียมความพร้อมองค์กรพี่เลี้ยงและแกนนำพื้นที่ปฏิบัติการ  การสนับสนุนปฏิบัติการชุมชนในการจัดการสุขภาวะโดยมีพี่เลี้ยงให้การติดตามและหนุนเสริมการดำเนินงานพื้นที่ปฏิบัติการจำนวน46 แห่ง  การพัฒนาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้และสนับสนุนการรณรงค์ต่อไป

โดยช่วงนี้ถือเป็นท้ายปีที่ 2 ของการดำเนินงานโครงการ  จึงกำหนดให้จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนความสำเร็จและปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินงานและแนวทางการพัฒนาโครงการในระยะต่อไป

  • วัตถุประสงค์
  • เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนความสำเร็จ/ ไม่สำเร็จ และวิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานด้านการจัดการสุขภาวะของพื้นที่ปฏิบัติการ
  • เพื่อระดมข้อเสนอและทิศทางการดำเนินงานด้านการจัดการสุขภาวะชุมชนของชนเผ่าพื้นเมืองในระยะต่อไป
  • ผู้เข้าร่วม  รวม 60 คน
  • ตัวแทนแกนนำโครงการย่อย                 จำนวน 44 คน
  • คณะกรรมการโครงการ                      จำนวน 3 คน
  • ที่ปรึกษาโครงการ                             จำนวน 5 คน
  • พี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่โครงการ                จำนวน 8 คน    
  • เนื้อหา
    • แลกเปลี่ยนบทเรียนการดำเนินงานพื้นที่และเครือข่ายปฏิบัติการ
  • องค์ความรู้ชุมชนในการจัดการสุขภาวะชุมชน
  • หลักคิด
  • กระบวนการ
  • กลไกการจัดการ
  • เทคนิค
  • การเปลี่ยนแปลง (ผลที่เกิดขึ้น)  
  • ชุมชน
    • คน/ผู้นำ
    • คุณภาพชีวิต
    • สภาพแวดล้อม
  • ความสัมพันธ์ทางสังคม/เครือข่าย
    • ระหว่างชุมชนกับชุมชน
    • ระหว่างชุมชนกับภาคส่วนอื่นๆ (ธุรกิจ/ ภาคีองค์กร)
  • นโยบายระดับท้องถิ่น
  • ปัจจัย (ที่สนับสนุน/เป็นอุปสรรค)
  • ภายใน
  • ภายนอก
  • ข้อเสนอ
    • ระดมข้อเสนอและทิศทางการดำเนินงานด้านการจัดการสุขภาวะชุมชนของชนเผ่าพื้นเมือง และการร่วมขับเคลื่อนงานของขบวนชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยในระยะต่อไป 
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ได้รับทราบบทเรียนสำคัญที่เกิดขึ้น และปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อการดำเนินงานของโครงการย่อยของแต่ละชุมชน  รวมทั้งสามารถออกแบบให้เกิดการบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างชุมชนและเครือข่ายปฏิบัติการในระดับพื้นที่
  • มีข้อเสนอและทิศทางการดำเนินงานด้านการจัดการสุขภาวะชุมชนของชนเผ่าพื้นเมือง  และการพัฒนากิจกรรมต่อยอดเพื่อให้เกิดการขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ