โดย นิตยา เอียการนา

กลายเป็นวาระสำคัญที่ต้องเฝ้าติดตามสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองและภาคประชาสังคม ในการจัดทำแผนงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (National biodiversity strategies and action plan: NBSAP) ภายในปี 2567 ของรัฐบาลไทย เพื่อให้สอดคล้องตามกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework) หรือเรียกสั้นๆว่า KMGBF ที่ได้มีการรับรองเมื่อปลายปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) ของภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ 196 ประเทศ ได้มีกําหนดเป้าหมายหลัก 4 เป้าหมายและเป้าหมายย่อย 23 เป้าหมาย สิ่งเหล่านี้จะถูกใช้เพื่อช่วยติดตามความคืบหน้าเมื่อตัวชี้วัดความสําเร็จได้รับการตกลงกันแล้ว เป้าหมายหลักๆมีดังนี้:
  • เป้าหมาย A: จัดการกับภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
  • เป้าหมาย B: การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนและคำนึงถึงคุณค่าผลประโยชน์ต่อผู้คน
  • เป้าหมาย C: การแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้องค์ประกอบทางพันธุกรรมของความหลากหลายทางชีวภาพและความรู้ ภูมิปัญญา ดั้งเดิมที่เกี่ยวข้อง
  • เป้าหมาย D: ทรัพยากรที่จําเป็นในการนำดำเนินงานตามกรอบแผนงาน
โดยพบว่าเป้าหมาย C ที่อ้างอิงถึงชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น (Indigenous Peoples and Local Communities) โดยตรงในบริบทของการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและความรู้ดั้งเดิมที่เกี่ยวข้อง  และการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม ทุกเป้าหมายมีการคำนึงถึงพื้นฐานและผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติการต่างๆ
สำหรับประเทศไทย นำโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้นำร่องโครงการ Global Biodiversity Framework Early Action Support (GBF-EAS) โดยมีบริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาโครงการ “การทบทวนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ (NBSAPs) อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการในช่วงต้นและการปริมินระบบการติดตามการดำเนินงานตามกรอบแผนงานคุณหมิน-มอลทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก” โดยกำหนดให้มีการประชุมปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยน และร่วมระดมความคิดเห็นต่อแนวทางในการจัดทำการจัดทำเป้าหมายระดับชาติ (national targets) กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 5 หรือเรียกว่า NBSAP ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศร่วมกับตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยตลอดในช่วงปลายปี 2566 และต้นปี 2567 สำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (SCBD) ได้มีการจัดเวทีเพื่อติดตามความคืบหน้าของรัฐภาคีในภูมิภาคต่างๆ ว่ามีกระบวนการทบทวนและพัฒนาแผนฯ มีความคืบหน้าและอุปสรรคอะไรบ้าง โดยล่าสุดได้มีการจัดเวที Regional Dialogue on National Biodiversity Strategies and Action Plans for South and East Asia ในช่วงวันที่ 23-26 มกราคม 2567 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพบว่ามีบางประเทศทีได้พัฒนาแผนงานเสร็จเป็นที่เรียบร้อย บางประเทศกำลังอยู่ในช่วงการระดมความเห็น อาจเร็วบ้างช้าบ้างขึ้นอยู่กับกระบวนการของแต่ละประเทศ แต่สิ่งที่คล้ายคลึงกันคือ ส่วนใหญ่มีการแก้ไขและ/หรือออกกฏหมายและนโยบายภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพหลายฉบับ  รวมถึงได้มีการประกาศและกำลังจะประกาศเขตพื้นที่อนุรักษ์ประเภทต่างๆเพิ่มขึ้นอีกมากมาย และตัวแทนส่วนใหญ่บอกว่าไม่มีความรู้ประเด็นชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น 
สำหรับประเทศไทยเองก็ไม่ได้แตกต่างจากรัฐภาคีในเอเชียส่วนใหญ่ จึงไม่แปลกใจเลยยังไม่เห็นชนเผ่าพื้นเมืองเข้าไปอยู่ในกลไกการทบทวนและพัฒนาแผนฯ ในฐานะผู้ทรงสิทธิ
จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ชนเผ่าพื้นเมืองจะต้องเร่งทำความเข้าใจกรอบแผนงานและผลักดันแผนงานระดับประเทศฯ ให้สอดคล้องตามกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ซึ่งชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นถือเป็นพันธมิตร ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งได้ระบุไว้ใน Section C ข้อควรพิจารณาในการดำเนินการตามกรอบ KMGBF ระบุไว้ว่า (a) กรอบงานนี้รับรู้ถึงบทบาทและการมีส่วนร่วมอย่างสำคัญของชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในฐานะผู้พิกษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและหุ้นส่วนในงานอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ส่วนในเป้าหมาย หรือ เป้าประสงค์  C คือ ผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมและลำดับข้อสนเทศดิจิตัลว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรม และจากภูมิปัญญาตามประเพณีที่เชื่อมโยงกับทรัพยากรพันธุกรรม ตามที่สามารถปรับใช้ได้ให้มีการแบ่งปันอย่างยุติธรรมและเป็นธรรม รวมทั้งกับชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นตามความเหมาะสมและเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนภายในปี 2050 ขณะที่ทำให้แน่ใจว่าภูมิปัญญาตามประเพณีที่เชื่อมโยงกับทรัพยากรพันธุกรรมได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม ด้วยเหตุนั้นจึงมีส่วนในการอนุรักษ์และใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ตามความตกลงระหว่างประเทศในเครื่องมือการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์
ส่วนในเป้าหมาย หรือ เป้าประสงค์  C คือ ผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมและลำดับข้อสนเทศดิจิตัลว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรม และจากภูมิปัญญาตามประเพณีที่เชื่อมโยงกับทรัพยากรพันธุกรรม ตามที่สามารถปรับใช้ได้ให้มีการแบ่งปันอย่างยุติธรรมและเป็นธรรม รวมทั้งกับชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นตามความเหมาะสมและเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนภายในปี 2050 ขณะที่ทำให้แน่ใจว่าภูมิปัญญาตามประเพณีที่เชื่อมโยงกับทรัพยากรพันธุกรรมได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม ด้วยเหตุนั้นจึงมีส่วนในการอนุรักษ์และใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ตามความตกลงระหว่างประเทศในเครื่องมือการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์
NBSAP ฉบับใหม่นี้จะเป็นตัวกำหนดมุมมองระดับประเทศ การลงทุน และขอบเขตงานทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติในทศวรรษหน้า หากปราศจากการเชื่อมโยงมุมมองของชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว ความเหลื่อมล้ำ การแข่งขัน การแย่งชิง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนคงจะรุนแรงขึ้นในทศวรรษหน้า จึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่ต้องมาปกป้องการพัฒนาและความเป็นอยู่ที่ดีของคนในรุ่นอนาคตของพวกเรา