Skip to content
  • รู้จักเรา
  • 10 ชนเผ่า
  • บทความ
  • ติดต่อเรา
Useful Links
FacebookTwitterInstagram
สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทยสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย
สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย
IMPECT Associatoin
053-492544impect.th@gmail.com
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ไทม์ไลน์
  • สมาชิกสมาคม
  • โครงสร้าง
  • บทความ
  • รู้จัก10 ชนเผ่า
  • กิจกรรม
  • ติดต่อเรา
ค้นหา
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ไทม์ไลน์
  • สมาชิกสมาคม
  • โครงสร้าง
  • บทความ
  • รู้จัก10 ชนเผ่า
  • กิจกรรม
  • ติดต่อเรา
Leave a commentกิจกรรมการศึกษาทางเลือก, กิจกรรมสมาคม

“หนังสือคือประตูสู่โลกกว้าง”…

คำกล่าวที่สะท้อนความสำคัญของ“การอ่าน” อันเป็นพื้นฐานหนึ่งของการแสวงหาความรู้แต่การอ่านหนังสือรูปเล่มกระดาษแบบดั้งเดิม หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้อ่านบนคอมพิวเตอร์ แท็บเลต สมาร์ทโฟน (E-Book) จะไร้ประโยชน์ทันที หากไปอยู่ในมือผู้ที่…

อ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้!!!

ที่ผ่านมา ระบบการศึกษาไทยถูก “สับเละ”หลังพบว่าคุณภาพเด็กไทย “ตกต่ำ” ลงทุกวัน ไม่ใช่เฉพาะ “วิชายาก” ที่หลายคนอาจเห็นเป็น “ยาขม” อย่างคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยัง “ลาม” ไปถึงวิชา “ภาษาไทย”

จากการสุ่มสำรวจโรงเรียนในไทย 2,020 แห่ง โดยกระทรวงศึกษาธิการ ในเดือนมิถุนายน 2558 พบว่า เด็กไทยชั้น ป.3 ของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 5 อ่านไม่ออก และร้อยละ 7.6 เขียนไม่ได้ และชั้น ป.6 ของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 2.6 อ่านไม่คล่อง ร้อยละ 7 เขียนไม่คล่อง

หรือหากย้อนไป 2 ปี ในเดือนกันยายน 2556 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) สำรวจเด็กไทยชั้น ป.3 และ ป.6ทั่วประเทศ พบว่า มีนักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6“อ่านไม่ได้” รวม 45,929 คน นอกจากนี้ยังมีนักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 ที่อ่านได้บ้าง แต่ยังต้อง “ปรับปรุง” รวม 365,420 คน เมื่อรวมทั้งหมดมีเด็กไทยที่มีปัญหาอ่านเขียนสูงถึงกว่า 4 แสนคน

 

 

ด้วยเหตุนี้จึงมีความพยายาม “แก้วิกฤติ”จากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะใน “เด็กชาติพันธุ์”ที่อาศัยบนยอดดอย ชาวเขาเผ่าต่างๆ ถือเป็น “กลุ่มเสี่ยง” ที่เมื่อทดสอบทีไรมักพบเด็กที่อ่าน-เขียนภาษาไทยไม่ได้ค่อนข้างมาก

“หน่อ แอริ ทุ่งเมืองทอง” ประธานเครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง ตั้งข้อสังเกตถึงเรื่องนี้ในเวทีเสวนา “การศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง :หลากหลาย พริก เพื่อพลิกการเรียนรู้” ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่า อาจเป็นเพราะการสอนที่“ไม่เข้าใจ” ระหว่างครูภาษาไทยกับบริบทของท้องถิ่น

“หน่อ แอริ” อธิบายว่า เด็กจะเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิด นั่นหมายถึง “เรียนรู้จากพ่อแม่” ดังคำโบราณที่ว่า “เรียนรู้ภาษาแม่ เรียนรู้การทำกิน เรียนรู้วัฒนธรรม และเรียนรู้รากเหง้าของตนเอง” แต่เมื่อต้องการความรู้ขั้นสูงเพิ่มขึ้น “ภาษากลาง” หรือภาษามาตรฐานที่คนจำนวนมากใช้สื่อสารกัน เช่น ภาษาไทย จึงเป็นสิ่งจำเป็น เป็นที่มาของการดึง “ครูชนเผ่า” เข้ามาช่วยครูภาษาไทยในการสื่อสารกับเด็กนักเรียน

“ในชั้นอนุบาล ครูจะบังคับให้เด็กพูดภาษาไทย เพราะครูพูดภาษาถิ่นไม่ได้ จึงมีปัญหาเรื่องการสื่อสารและการเรียนการสอน จึงมีการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีครูชนเผ่าเข้ามาช่วยสอน เพื่อพัฒนาการสื่อสารกับเด็ก”

“หน่อ แอริ” กล่าวอีกว่า การศึกษาแบบนี้เด็กจะได้เรียนรู้ถึง “รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต”ของตนเอง ด้วยองค์ความรู้ที่มีอยู่มาตั้งแต่กำเนิดควบคู่ไปกับการศึกษาที่อยู่ในระบบ เสมือนกับการบูรณาการการศึกษาในโรงเรียนและวิถีพื้นเมืองเข้าไว้ด้วยกัน

ขณะที่ “ผศ.วรรณา เทียนมี” ผู้อำนวยการมูลนิธิภาษาศาสตร์ประยุกต์ อธิบายว่า การเรียนแบบ “ทวิภาษา” ร่วมกันระหว่างภาษาไทยกลางกับภาษาท้องถิ่น ถูกใช้เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาการเรียนภาษาของ “นักเรียนชาติพันธุ์” ที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็น “ภาษาแม่” เพื่อเตรียมความพร้อมทางภาษาให้นักเรียนเหล่านี้เข้าสู่ระบบการเรียนรู้ในกระแสหลักได้เร็วขึ้น

“ผศ.วรรณา” อธิบายว่า การสอนสำหรับ“เด็กชนเผ่า” ต้องเรียน “อ่าน-เขียน” ภาษาถิ่นก่อนโดยเฉพาะระดับชั้นอนุบาล 1 จะต้องใช้ภาษาถิ่นอย่างเดียว เพื่อพัฒนาสติปัญญา ร่างกาย จิตใจ และสังคม ส่วนสื่อการเรียนการสอนที่ใช้จะต้องเป็นเรื่องหรือวิถีชีวิตที่เด็กคุ้นชิน เพื่อที่เด็กจะได้ “กล้าพูด-กล้าแสดงออก” เพราะเป็นภาษาที่เด็กคุ้นเคยดีอยู่แล้ว ส่วนภาษาไทยควรเริ่มใช้ในเทอม 2เป็นต้นไป โดยเริ่มจาก “ฟัง…ให้รู้จักคำศัพท์ก่อน”

เมื่อขึ้นชั้นอนุบาล 2 เด็กจะรู้จักคำศัพท์ประมาณ 1,000 คำ เมื่อขึ้นชั้น ป.1 จะนำภาษาไทยเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น สอนแจกแจง “ผสมคำ” แต่ยังใช้ครูท้องถิ่นในการสอน เมื่อเด็กเรียนคำศัพท์วิชาการที่มีความหมายในภาษาถิ่นแล้ว เมื่อเรียนภาษาไทยเด็กจะเชื่อมโยงความหมายระหว่างภาษาถิ่นกับภาษาไทยได้เอง และจะทำให้เขาเข้าใจง่ายขึ้น จากนั้นชั้น ป.2 จะใช้ภาษาถิ่นน้อยลง ใช้ภาษาไทยมากขึ้นและยากขึ้น ตามลำดับ วิธีนี้ “แก้ไข” ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กชนเผ่าพื้นเมืองอย่างได้ผล

“การจัดการเรียนแบบทวิภาษาในช่วงแรก จะเริ่มเรียนด้วยภาษาแม่ของตัวเองก่อน โดยใช้ครูที่ใช้ภาษาถิ่นในการสอนด้วย และจะค่อยๆ นำ
ภาษาไทยเข้ามาใช้ โดยเริ่มจากการฟัง พูด อ่านและเขียน เมื่อเด็กเข้าใจในภาษาไทยแล้ว เราจะเริ่มสอนด้วยภาษาไทยเหมือนเด็กทั่วไป เพราะการที่เด็กชาติพันธุ์คุ้นเคยกับภาษาจะส่งผลต่อการเรียนรู้และการพัฒนาความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์ได้ดี” ผอ.มูลนิธิภาษาศาสตร์ประยุกต์ ระบุ

ทว่า…สิ่งที่เป็น “อุปสรรค” ต่อการขยายโครงการให้ครอบคลุม คือ “จำนวน” ครูชนเผ่าไม่เพียงพอ ขณะที่ข้าราชการครูที่มาจากส่วนกลางขาดความเข้าใจสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งเรื่องนี้ “สินอาจ ลำพูนพงศ์” อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ ให้ความเห็นว่า หากไปดูที่ “คณะศึกษาศาสตร์” ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ จะพบว่านักศึกษาไม่น้อยเลยที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ ฉะนั้นอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้ได้รับการบรรจุ “กลับไปพัฒนาบ้านเกิด” ในฐานะครู พื้นที่นั้นก็จะได้ประโยชน์

“ครูจะเชื่อมโยงการเรียนการสอนในการให้เด็กอ่านออกเขียนได้ และปัญหาการโยกย้ายจะหมดไป ขณะเดียวกันในเรื่องของการพัฒนาชุมชนนั้น เด็กเหล่านี้คือกำลังสำคัญ” สินอาจ ให้ความเห็น

ด้าน “ไพรัช ใหม่ชมภู” รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่ กล่าวว่าจ.เชียงใหม่ ผลักดันการปฏิรูปการศึกษาในพื้นที่อย่างจริงจังมาแล้วกว่า 2 ปี และมีแผน “โรดแมป”ระยะ 4 ปี ระหว่างปี 2559-2562 ดูแลด้านการศึกษาตลอดชีวิตทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ตั้งแต่ปฏิสนธิจนเสียชีวิต ซึ่งการศึกษาของชนเผ่าพื้นเมืองอยู่ในแผนนี้เช่นกัน

“เมื่อมีแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษานี้แล้ว ก็ได้จัดให้มีครูท้องถิ่นเข้ามาสอนในโรงเรียน เช่น โรงเรียนที่มีชนเผ่าปกาเกอะญอ จะจัดให้มีครูปกาเกอะญอเข้าไปสอน โดยเชื่อมโยงประเพณีของแต่ละชนเผ่าเข้ามาในหลักสูตรการเรียนการสอน จากเดิมที่การเข้าเรียนโรงเรียนรัฐบาลจะขาดความเชื่อมโยงระหว่างการศึกษากับวิถีชีวิต” รองนายก อบจ.เชียงใหม่ กล่าว

ตัวอย่างเสียงสะท้อนจากผู้เรียน…“เพชรรัตน์ รักไพรสายเพชร” นักเรียนชั้น ป.4โรงเรียนบ้านปุย อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ บอกเล่าความรู้สึกเมื่อได้เรียนในหลักสูตรทวิภาษา “ไทย-พื้นเมือง” ว่า ในฐานะที่เป็น “ชาวกะเหรี่ยงโปว์” พวกเราสื่อสารภาษาถิ่นในครอบครัว แต่เมื่ออยู่ในโรงเรียนจะสื่อสารเป็นภาษาไทย และมีครูที่เข้าใจวัฒนธรรมของโปว์ด้วย การศึกษาที่ใช้ภาษาแม่ทำให้มีความสุข และตั้งใจที่จะมาเรียน

“ภาษาถิ่นพลิกชีวิตให้เป็นคนที่มีคุณธรรม มีสิทธิเท่าเทียมกับกลุ่มต่างๆ หวังว่ารัฐจะให้ความกรุณาได้เรียนรู้ในลักษณะทวิภาษาแบบนี้ต่อไป
เพราะช่วยเพิ่มโอกาสได้เรียนต่อในระดับสูง เพื่อกลับมาพัฒนาชุมชน นำไปสู่ความมั่นคงของประเทศชาติ และกลุ่มของตน” นักเรียนจากกลุ่มชาติพันธุ์ ฝากทิ้งท้าย

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา…

ถูกพูดถึง “ซ้ำซาก” โดยเฉพาะใน “กลุ่มชาติพันธุ์” ซึ่งการเรียนผสมผสานระหว่าง “วิถี-หลักสูตร” ที่ จ.เชียงใหม่ นำมาใช้ เป็นอีกทางเลือกที่พิสูจน์แล้วว่า “เหมาะสม” หน่วยงานรัฐจึงน่าจะ “เปิดกว้าง” ให้แต่ละพื้นที่ได้ “ทดลอง”จัดการเรียนการสอนภายใต้หลักการนี้ เพื่อปัญหาการศึกษาไทยจะ “คลี่คลาย” ลงไปบ้าง!?!?!

เครดิต >>> http://www.naewna.com/local/252684

Related

Share this post
FacebookTwitterPinterest
Related projects
  • ฐานการเรียนรู้ที่ 2 ทำคันดงดาราอาง

  • ฐานการเรียนรู้ที่ 1 มัดย้อมสีธรรมชาติ

  • อนาคตเด็กไทยในศตวรรษที่ 21

  • ตัวแทนจาก ผู้เชี่ยวชาญวนศาสตร์ ในโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไก RADD+

  • เรียนรู้วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา ณ บ้านแม่สาใหม่

  • วันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ปี 2019

  • กิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้อาวุโสและผู้หลักผู้ใหญ่

  • ประชุมคณะกรรมการอำนวยการสมาคมศูนย์ร่วมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทยครั้งที่ 1 ปี 2562

  • ประเมินโครงการ สสชพ. รอบที่ 2

  • ทำ MOU กับ คณะ Moribito Project นำโดย รศ.ดร.Shu nimonjiya

  • ภาพบรรยากาศกิจกรรม มหกรรมอาหารชนเผ่าพื้นเมือง ประจำปี 2561

  • ภาพบรรยากาศการแสดงศิลปะวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมือง

Leave Comment

ยกเลิกการตอบ

You must be logged in to post a comment.

หมวดหมู่
  • กิจกรรม(26)
  • ข่าว(18)
  • ชนเผ่าพื้นเมือง(10)
  • บทความ(17)
  • ประชาสัมพันธ์(18)
  • สภาชนเผ่าพื้นเมือง(2)
  • เครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง(1)
  • เครือข่ายเผ่า(1)
  • ไม่มีหมวดหมู่(14)
โพส์ตล่าสุด
  • ประชุมคณะกรรมการ TKN
    พฤศจิกายน 26, 2019
  • ความแตกต่าง คือ ธรรมชาติ…
    พฤศจิกายน 19, 2019
  • ข้อเสนอแนะด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐภาคีที่มีต่อประเทศไทย
    พฤศจิกายน 18, 2019
  • เชิญร่วมงาน “ตลาดนัดปันสุข”
    พฤศจิกายน 14, 2019
ความเห็นล่าสุด
    ติดต่อเรา
    สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของขาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท.) Inter Mountain Peoples’ Education and Culture in Thailand Association (IMPECT)
    • Location:
      252 หมู่ 2 ต. สันทรายน้อย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50210
    • Phone numbers:
      053-492544
    • E-mail:
      impect.th@gmail.com

    Find us on:

    FacebookTwitterYouTube
    เรื่องล่าสุด
    • ประชุมคณะกรรมการ TKN
      พฤศจิกายน 26, 2019
    • ความแตกต่าง คือ ธรรมชาติ…
      พฤศจิกายน 19, 2019
    • ข้อเสนอแนะด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐภาคีที่มีต่อประเทศไทย
      พฤศจิกายน 18, 2019
    ติดตามเราได้ที่เพจ
    ติดตามเราได้ที่เพจ
    สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย
    IMPECT ASSOCIATION | 2016
    • รู้จักเรา
    • 10 ชนเผ่า
    • บทความ
    • ติดต่อเรา
    Useful Links