กิตติศักดิ์ สุดพิทักษ์เกียรติ

เมื่อวันที่ 16-17 มีนาคม 2567  แกนนำสตรีจากเครือข่ายลุ่มน้ำแม่ต๋ำ จ. เชียงราย และเครือข่ายลุ่มน้ำแปะ จ.เชียงใหม่ ร่วมด้วยเจ้าหน้าที่จากสมาคม IMPECT ได้เดินทางไปร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับภูมิภาค (RLE) ครั้งที่ 2   ณ. พนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยการสนับสนุนจาก Cord  ภายใต้โครงการ EMPOWER ในโครงการมุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสแก่นักปกป้องสิทธิสิ่งแวดล้อมสตรี (WED) และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาย (MHRD) เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ เพื่อจัดการกับอุปสรรคสำคัญต่อการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิผลของผู้หญิงในนโยบายและการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

วัตถุประสงค์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิภาค เพื่อส่งเสริมให้นักปกป้องสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะผู้หญิงมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการแบ่งปันระดับภูมิภาคกับเพื่อนร่วมงานตลอดจนเพื่อเรียนรู้จากการดำเนินการของโปรแกรม EMPOWER ในประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อส่งเสริมการประสานงานและสร้างเครือข่ายการสนับสนุนระดับภูมิภาคสำหรับ WED และ MHRD

กิจกรรมวันที่ 12  เดินทางไปป่าชุมชนบ้านกันเชือง จ.รัตนคีรี ในเขตพื้นที่ป่าชุมชนของแยกปอย ได้มีการนำเสนอประเด็นเรื่องเขตพื้นที่การจัดการทรัพยากรชุมชนบ้านแยกปอย โดย คุณดานี กรรมการป่าชุมชน กล่าวว่า ชุมชนบ้านแยกปอยได้ก่อตั้งคณะกรรมการ เมื่อปี 2037  ประมาณ 30ปี  ก่อตั้งโดยชุมชนเองที่เห็นถึงความสำคัญในเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  เพราะชุมชนอยู่กับป่า จึงต้องมีการดูแลป่าไม้  โดยมีองค์กร IGAD ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชุมชน ในการจัดการป่าและร่วมผลักดัน ตลอดจนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ  ภาคบ่าย มีเวทีแลกเปลี่ยนในประเด็น การปกป้องชุมชนที่นำโดยกลุ่มสตรี  เสนอโดยยะปิ่น รองประธานกรรมการป่าชุมชน  กล่าวว่ากลุ่มสตรีที่เข้าร่วมจัดการทรัพยากรยังมีน้อย สาเหตุเพราะไม่ค่อยมีใครเปิดพื้นที่ให้กลุ่มสตรี ส่วนใหญ่กลุ่มสตรียังอยู่บ้านดูแลลูก หลังจากที่หน่วยงาน DPA  เข้ามาสนับเสริมกลุ่มสตรีบ้านแยกปอย ในการจัดกระบวนการพัฒนากลุ่มสตรี ส่งผลให้ชุมชนเริ่มเปิดพื้นที่โอกาสให้สตรีมีบทบาทในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ อาทิเช่น การทำแนวกันไฟ, การลาดตระเวนไฟป่า  ตลอดจนนำเสนอการทำงานระหว่างภาครัฐและชุมชนโดยกำนันผู้ใหญ่บ้านแยกปอย กล่าวว่า ชุมชนบ้านแยกปอยเป็นชาติพันธุ์ชนเผ่ากะเลิง โดยได้ขึ้นทะเบียนเป็นโฉนดชุมชน ได้รับการยอมรับจาก 3 กระทรวง ตลอดจนชุมชนได้มีการทำแผนการบริหารเกี่ยวกับไร่หมุ่นเวียน  มีการกำหนดกฏระเบียบการใช้ป่าอย่างชัดเจน

ภาคกลางคืน  รับประทานอาหารเย็นร่วมกันและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมร่วมกัน

กิจกรรมวันที่ 13 มีการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน ประเด็นการจัดการทรัพยากรบ้านแยกปอย  โดยมีประเด็น 3 ประเด็น  และได้กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความร่วมมือจากภาครัฐ (อบต.)  กล่าวว่าเกิดจากการผลักดันของชุมชน โดยมีองค์กรพี่เลี้ยง Cord เข้ามาหนุนเสริม ทำให้ภาครัฐช่วยเหลือชุมชนจนถึงปัจจุบัน 

กิจกรรมวันที่ 14  ได้เดินทางไปอย่างป่าชุมชนบ้านโอจับ จ.สตึงแตรง จากทีมงาน DPA  ประเด็นการจัดการและสนับสนุนป่าชุมชน โดยนายศรน ชิม ผู้นำชุมชนป่าไม้สตึงแตรง กล่าวว่า มีการก่อตั้งคณะกรรมการเมื่อปี 37 สาเหตุเนื่องจากต้นไม้ในชุมชนถูกตัดเป็นจำนวนมาก และเมื่อปี 23 ได้มีการทำข้อตกลงกับหน่วยงานภาครัฐและชุมชน โดยได้รับการหนุนเสริมจาก DPA ในการฝึกอบรม การทำโครงสร้างการบริหาร ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐสามารถให้ชุมชนใช้ประโยชน์จากเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของภาครัฐได้ ภายใต้ข้อตกลงระหว่างรัฐและชุมชน แต่หลังจากขึ้นทะเบียนพบว่าการตัดไม้มีน้อยลง กรณีพบผู้กระทำความผิดต้องแจ้งให้หน่วยงานท้องถิ่นทันที โดยที่ไม่ต้องมีหนังสือส่งออก (กรณีฉุกเฉิน)  ภาคบ่าย ได้เยี่ยมชมกิจกรรมสร้างรายได้ของชุมชน โดยประธานกลุ่มสตรี กล่าวว่าได้ก่อตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 18 ธ.ค 28 มีสมาชิก 101คน มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมสตรีมีรายได้ เนื่องจากสตรีไม่มีรายได้  จึงทำให้หน่วยงาน DPA เข้ามาหนุนเสริมเรื่องงบประมาณ เปิดเป็นโรงสีข้าวของชุมชน โดยสมาชิกต้องเป็นคนในชุมชนเท่านั้น ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ คนในชุมชนสามารถเข้ามาเป็นส่วนได้ แต่บุคคลที่เป็นสมาชิกอย่างน้อย 1 ปี มีการปันผล ปันตามหุ้นที่แต่ละคนถือในสิ้นปี   จากนั้นทีมงาน Cord ได้มีการทบทวนและสรุปประเด็นสำคัญที่ผ่านมา โดย Hrcdas ได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมของแต่ละประเทศ และชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของCord และแลกเปลี่ยนประเด็นความประทับใจในประเทศกัมพูชา ที่สามารถนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเองได้อย่างไร ตลอดจน การแลกเปลี่ยนในปีถัดไป และข้อเสนอแนะในครั้งต่อไป 

กิจกรรมวันที่ 16  ประชุมกับ Cord ได้แนะนำและต้อนรับจากคาร์ลอส การอภิปรายเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และกำหนดการของวงจรการเรียนรู้ ทบทวนวัตถุประสงค์ของ Empower ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ โดย Munny  และการนำเสนอเกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการของประเทศ แนวทางปฏิบัติ/ความท้าทายที่ดีที่สุด และบทเรียนที่ได้รับ และแผนงานที่สำคัญ ข้อเสนอแนะ ตลอดจนการเคลื่อนงานในระยะต่อไปโดยแต่ละประเทศ

กิจกรรมวันที่ 17  การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับจากสมาคม IMPECT การอภิปรายและบทเรียนเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดโดย Socheata มีการพูดถึงข้อจำกัดและบทเรียนที่ได้รับ ตลอดจนเสวนากลุ่ม การวางกลยุทธ์สำหรับโครงการระยะต่อไป โดย คาร์ลอส ในเรื่องการออกแบบโครงการ ภาคบ่าย กล่าวถึงมีความต่อเนื่องของระยะอนาคต ว่าในระยต่อไป โครงการสร้างกลุ่มความร่วมมือควรทำอย่างไรต่อไป สิ่งที่สามารถทำได้ มีอะไรที่สมารถปรับปรุงได้บ้าง ในระยะต่อไป Cord จะให้การสนับสนุนสมาชิกได้ดีที่สุดอย่างไร เช่น การสื่อสาร โอกาสในการเรียนรู้ วิธีการแบ่งปันข้อมูลและงบประมาณ ตลอดจน อะไรควรเพิ่มความพยายามในระดับภูมิภาคในการสนับสนุนสิทธิ NRM/IPให้สูงสุด และ กล่าวปิดงานโดย Carlos